วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้..."อุทยานผีเสื้อและแมลง สวนรถไฟ"

 

ประวัติความเป็นมา
    สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่นิยมเรียกว่า สวนรถไฟ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่กว่า 375 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ติดกับสวนสาธารณะอีก 2 สวน คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนจตุจักร อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
   อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ หรือเรียกว่า สวนผีเสื้อกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้  เป็นสถานที่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ บริเวณอุทยานประกอบด้วยลานกิจกรรม บริเวณจัดนิทรรศการ ห้องเพาะเลี้ยงอาหาร ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ลานชมวิว ลานแมลง ลานผีเสื้อ และลานลำพู ตัวอาคารส่วนที่เป็นกรงมีพื้นที่ 1,100 เมตร สร้างในลักษณะโดมขนาดใหญ่สูง 15 เมตร สามารถระบายอากาศได้เนื่องจากใช้วัสดุโปร่งในการก่อสร้าง บริเวณของอุทยานมีส่วนเชื่อมต่อกับสวนจตุจักรและสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นับเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพันธุ์ผีเสื้อและแมลงและนกในเมือง วงจรชีวิต รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของผีเสื้อและแมลง

ข้อมูลการเดินทาง
     สถานที่ตั้ง ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร.02-2724844-5
     การเดินทาง
          รถโดยสารประจำทาง ต้องนั่งรถมาลงที่สวนจตุจักร แล้วเดินมายังสวนรถไฟ มีรถประจำทางสายที่ผ่าน คือ 3 8 26 27 28 29 34 38 39 44 52 59 77 96 104 108 112 134 136 138 145 502 503 509 510 512 513
          รถไฟฟ้า นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีหมอชิตแล้วเดินมายังสวนรถไฟ หรือนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินมาขึ้นที่สถานีจตุจักร แล้วเดินมายังสวนรถไฟได้เช่นกัน
          รถยนต์ส่วนตัว สามารถเข้าทางด้านข้าง บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ถนนวิภาวดีรังสิต โดยเสียค่าบำรุงจอดรถคันละ 10 บาท
     ข้อมูลทั่วไป                  
          เปิดทุกวัน เวลา 05.00-21.00 น.
          ค่าเช่าจักรยาน วันละ 20 บาท / คัน
          เรือพาย 30 บาท/ชม.

     อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ   ตั้งอยู่ในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เปิดให้บริการเที่ยวชม โดยไม่เสียค่าเข้าชม ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30 น. (หยุดทุกวันจันทร์) 

แหล่งการเรียนรู้กับการเชื่อมโยงรายวิชาชีววิทยา  

       อุทยานสวนผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมข้อมูลที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ผีเสื้อ ถิ่นอาศัยของผีเสื้อแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงวัฎจักรวงจรชีวิตของผีเสื้อ เพราะผีเสื้อถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากผีเสื้อที่อยู่ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกัดกินใบไม้ ไม่ให้มีหนาแน่นจนเกินไป ช่วยให้แสงแดดสอดส่องลงถึงพื้นด้านล่าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีก และยังสามารถเป็นอาหารให้กับนก หรือสัตว์อื่นซึึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ นอกจากนี้ผีเสื้อยังทำหน้าที่ในการผสมเกสรให้กับดอกไม้โดยผีเสื้อได้ประโยชน์จากดอกไม้คือ น้ำหวาน ส่วนดอกไม้ก็ได้รับการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียทำให้เกิดความหลากหลายของสายพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้แหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวสามารถนำมาเชื่อมโยงกับรายวิชาชีววิทยาได้เป็นอย่างดีและถือเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีความงดงาม ทรงคุณค่า ที่ผู้เรียนสามารถมาสัมผัสและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ข้อเสนอแนะ

        1.ในอุทยานสวนผีเสื้อฯ ควรมีวิทยากรคอยให้ข้อมูลหรือให้ความรู้ เพื่อที่จะทำให้ผู้เข้าชมสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ จากสิ่งที่สนใจ
        2.ควรมีผู้ดูแลสอดส่องภายในตัวอาคารผีเสื้ออย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกัน ไม่ให้ผู้เข้าชมทำลายสิ่งที่จัดแสดงอยู่ในตัวอาคาร
        3.ควรมีการนำพันธุ์ผีเสื้อหรือแมลงที่มีความแปลกมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับระบบนิเวศด้วย

ภาพจากการศึกษาแหล่งการเรียนรู้
       


 
 สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ)
 
 
ภาพผีเสื้อบางส่วนที่อยู่ภายในอาคาร
 
 
ผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดีย
 

                                                          เหมือนใบไม้มั้ยค่ะ ^o^

 

 






                                                  
                                                               ผีเสื้อเชิงลายธรรมดา





 
                                                     
                                                      ผีเสื้อใบไม้กำลังกินน้ำหวานอยู่ค่ะ

 
 
 
มุ่งหน้าสู่สวนผีเสื้อ 
 
 

                                                                 ขอบคุณค่ะ ^__^


แหล่งข้อมูล

        http://www.mochit.com/place/64
        http://www.ontotour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=342111&Ntype=4
        http://www.taklong.com/macro/show-macro.php?No=518495


วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สังเกตุสื่อการสอน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์

                 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
                      

ที่ตั้ง 31 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 7.7 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
         
          รูปอักษรย่อ ร.ว.บ.ประดิษฐ์สีแสด ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎสีทอง
สีประจำโรงเรียน
          แสด - ดำ
          สีแสด คือความเจริญรุ่งเรืองแห่งปัญญา
สีดำ คือสีความแข็งแกร่งอดทน


 
ปรัชญาโรงเรียน
        
          ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กีฬา รักษาคุณธรรม
 
คติพจน์
 
สติมโต สทา ภทฺทํ ผู้มีสติย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ

ต้นไม้
ต้นประดู่แดง


 
คำขวัญ
 
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สะอาด มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ กตัญญู เสียสละ          

ระเภท

          โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ

ประวัติโรงเรียน

         โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยนายสุขุม และนางจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร โรงเรียนด้วยเงิน งบประมาณปี 2513 และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" ("ราชวินิต " หมายความว่า " สถานที่ สั่งสอนอบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา") โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนครั้งแรกเมื่อ ปีการศึกษา 2515 มีนักเรียน 347 คน ปัจจุบัน โรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
การเข้าสังเกตุสื่อที่ใช้ในการสอนของรายวิชา      

สื่ออิเล็คทรอนิคส์ภายในห้องเรียน
1.โทรทัศน์
2.คอมพิวเตอร์
3.เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์
4.จอภาพโปรเจคเตอร์
5.ไมโครโฟน
6.ลำโพง
สื่อที่ใช้ในการสอน รายวิชาชีววิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
       จากการที่ดิฉันได้เข้าไปทำการสังเกตุการเรียนการสอน ภายในโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว พบว่าในรายวิชา อาจารย์ผู้สอนมีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ดังนี้
1.การสอนโดยใช้ Power point
2.การสอนโดยใช้โมเดลศึกษา
3.การใช้กิจกรรมควบคู่การสอน
        นอกจากนี้ภายในห้องเรียนยังมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษา เช่น โมเดลโครงสร้างการแบ่งเซลล์ ในระยะต่างๆ ภาพโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ภาพโครงสร้างของพืชและสัตว์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีภาพการแบ่งเซลล์ในระยะต่างๆซึ่งเป็นผลงานของนักเรียนอีกด้วย

ประโยชน์ของสื่อการสอนที่ใช้

 1.การใช้สื่อ Power point ในการสอน
          ดิฉันคิดว่าการใช้ Powre point ในการสอนนั้น ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน มากว่าการที่เรียนแต่ในหนังสือเพียงอย่างเดียว เพราะผู้สอนสามารถใส่เนื้อหาหรือข้อมูลที่สำคัย หรือรูปภาพที่ใช้ประกอบได้หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถใช้สื่อ Media ต่างๆได้ เช่นการนำวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนมาสอดแทรก การใส่ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2.การใช้โมเดลศึกษา
        ในบางเรื่องที่ผู้สอนไม่สามารถอธิบายให้ผูเรียนเข้าใจได้อย่างชัดเจนนั้น ผู้สอนจะต้องมีการใช้สื่ออื่นๆประกอบแทน เช่น โมเดลที่จำลองโครงสร้างหรือลักษณะของสิ่งมีชีวิต ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสัมผัสได้ และเข้าใจสามารถอธิบายถึงโครงสร้างต่างๆนั้นได้ ในการสอนในรายวิชาที่ดิฉันได้เข้าไปทำการสังเกตุการสอน พบว่าอาจารย์ผู้สอนได้ใช้โมเดล ในการอธิบายถึงโครงสร้างและการทำงานของไต ซึ่งนักเรียนในห้องเรียน มีความสนใจในสื่อที่เรียน และสามารถตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอนได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าสื่อดังกล่าวมีความสำคัญและเป็นตัวกระตุ้นความสนใจทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
3.การใช้กิจกรรมในการเรียน
         ในการนำกิจกรรมเข้ามาช่วยในการเรียน ถือเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีอีกวิธีการหนึ่ง เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น และอีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดผู้เรียนด้วยว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากน้อยเพียงใด
         
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
        1.ในการสอนโดยใช้ Power point ดิฉันคิดว่าบางส่วนไม่มีความน่าสนใจหรือมีความยากเกินไปจึงทำให้ผู้เรียนบางคนไม่ตั้งใจเรียน ในสิ่งที่อาจารย์สอนเท่ามที่ควร
        2.นักเรียนบางคนไม่สนใจเรียน แต่กลับเอาหนังสือที่ไม่ใช่วิชาเรียนมาอ่าน อาจเป้นผลมาจากการมีหนังสือเรียนให้ อีกทั้งอาจารย์ยังสอนดดยใช้ Power point นักเรียนจึงไม่สนใจที่จะจดบันทึกตามสิ่งที่อาจารย์สอน
        3.สื่อการสอนไม่เพียงพอต่อผู้เรียน จึงต้องมีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ซึ่งทำให้เสียเวลาในการเรียน
        4.ในการเรียนการสอนนั้นจะถูกจำกัดด้วยเรื่องของเวลา หรือชั่วโมงเรียนที่ไม่เพียงพอ
ข้อเสนอเแนะ

       1.สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีความน่าสนใจ และมีความเหมาะสมต่อระดับของผู้เรียน สามารถดึงดูดผู้เรียน โดยผู้สอนอาจใส่ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อที่สอน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
       2.ผู้สอนควรมีเนื้อหาที่นอกเหนือจากในหนังสือใส่ลงใน Powre point เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนและจดบันทึกตามเนื้อหานั้น
       3.ผู้สอนควรจัดการเนื้อหาที่จะใช้ในการให้กระชับและครอบคลุมมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้สามารถสอนได้ทั้นตามช่วงเวลาที่กำหนด
     
     
                        ประมวลภาพจากการสังเกตุสื่อการสอน

                                     
                                                    ภาพการสังเกตุการสอนในห้องเรียน
                                   
                                        
                                          การต้อนรับจากคณาจารย์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
                                     
                                                       
                                                       ภาพยรรยากาศภายในห้องเรียน


                                       การเรียนในหัวข้อเรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

                                                สื่ออิเล็คทรอนิคส์ที่มีอยู่ภายในห้องเรียน
                                         
                                          สื่อภาพโครงสร้าของมนุษย์ที่มีอยู่ภายในห้องเรียน

                                                           
                                                             ภาพโครงสร้างของกบ

                                                         
                                                          ภาพโครงสร้างการแบ่งเซลล์
                                            
                                                            ภาพผลงานของนักเรียน













E-learning นวัตกรรมทางการศึกษา


 



ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

       นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)

ความหมายของ E-learning

         E-learning หมายถึง การศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนจะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเว็ปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน โดยจะมีการเรียนรู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ ในสองลักษณะดังนี้
      1. แบบ Real-time ได้แก่ การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
      2. แบบ Non real-time  ได้แก่ การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเล็คทรอนิคเมลล์ Web Board News-group    เป็นต้น (คุณธิดาทิตย์ จันคนา)

ประเภทของ e-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

        1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
        2 . Asynchronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป

       ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
       ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
       ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
       ข้อเสีย ของ Asynchronous คือ ไม่ได้บรรยายสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบกลับ e-learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่ มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้ามาเรียนจากการบ้านได้  

     




องค์ประกอบของ e-Learning

        1. ระบบจัดการการศึกษา (Management Education System) ทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง 
        2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents) หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอนให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
        3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)ทุกคน ในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันเพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียนได้อย่างสม่ำเสมอ

        4. วัดผลการเรียน(Evaluation) งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ และจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด
       

ประโยชน์ของ E-learning

       การเรียนการสอนโดยผ่านระบบ e-learning นั้น ดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกทางการศึกษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจได้ อีกทั้งยังมีอิสระในการเรียนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ในทุกสถานที่ตามที่ตนต้องการ เพราะในยุคปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นไม่ว่าเราจะตรงส่วนใดของโลก เรานั้นก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ ซึ่งประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านระบบ e-learning มีดังนี้
1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
       การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2.เข้าถึงได้ง่าย
      
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
3.ปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย
      
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล    จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
       ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
5.ข้อมูลไม่สูญหาย
       เนื่องจากการเรียนด้วยระบบ E-learning สามารถเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายต่อการค้นหาและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
6.มีอิสระในการเลือกเรียน
       การเรียนโดยผ่านระบบ E-learning นั้นเราสามารถ เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ และยังสามารถเลือกอาจารย์ผู้สอนได้หลายท่านอีกด้วย ดังนั้นการเรียนนี้ จึงมีความอิสระต่อผู้เรียนแต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น เรื่องของเวลา เป็นต้น











แหล่งที่มา http://www.thaiall.com/internet/internet11.htm





วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หัวข้อข่าว

คุก21ปีแฮกเกอร์ข้อมูลลับเอทีเอ็มลูกค้าใบโพธิ์

แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

ประจำวันที่    วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 เวลา 19:59 น.

    คุก 21ปีเศษแฮกเกอร์แสบล้วงข้อมูลลับบัตรเอทีเอ็มลูกค้าแบงก์ใบโพธิ์ โอนเงินกว่า 3 แสนไปจ่ายหนี้ รับสารภาพเหลือติด10 ปี เศษพร้อมคืน3.6แสนให้ผู้เสียหาย

 

เนื้อหาข่าว

       นายภาณุพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ฤกษ์เสริมสุข อายุ 30 ปี ชาว จ.นครนายก เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหาย ,ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ,ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยบังอาจใช้ข้อมูลหมายเลข 16 หลัก ที่ปรากฏบนหน้าบัตร เอทีเอ็ม พร้อมรหัสลับที่ใช้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ผู้เสียหายที่ออกให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้เสียหายอีก 4 ราย แล้วจำเลยนำไปสมัครขอใช้บริการ SCB EASY NET โดยกำหนดชื่อประจำตัว และรหัสผ่านด้วยตนเองตามขั้นตอนและวิธีการที่ ธนาคารฯ กำหนด เป็นเหตุให้ธนาคารฯหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้เสียหาย4 ราย จึงออกชื่อประจำตัวผู้ใช้ให้ จากนั้นจำเลยได้นำชื่อประจำตัวของผู้เสียหาย และรหัสผ่านไปโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการทางอินเตอร์เน็ตหลายครั้งซึ่งเป็นร้านค้าต่างประเทศรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 368,800 บาท ต่อมาตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)ติดตามจับกุมได้ พร้อมให้การรับสารภาพ เหตุเกิดที่แขวงเขต- จตุจักร กรุงเทพฯ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน

กระทำผิดมาตรตรา

       กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา269/7 ,334,335 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5,7,9

บทลงโทษในการกระทำผิด

       ศาลตัดสินบทลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ 5 กระทง จำคุกกระทงละ 9 เดือน เป็นจำคุก 3 ปี 9 เดือน ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหายฯ 4 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นจำคุก 8 ปี และฐานลักทรัพย์ฯ จำคุกกระทงละ 2 ปี 5 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี รวมจำคุก 21 ปี 9 เดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย 10 ปี 10 เดือน 15 วัน และให้จำเลยชดใช้เงินคืน 368,800 บาทแก่ผู้เสียหายด้วย.

การป้องกันการกระทำผิด

       การมีความรู้ในด้านระบบคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสิ่งที่ดีหากนำสิ่งที่มีอยู่ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร แต่หากนำความรู้ของตนไปใช้ในทางที่ผิด ก็อาจส่งผลร้ายต่อผู้อื่น รวมทั้งตนเองด้วย ดังนั้น แนวทางในการป้องกันการกระทำผิดคือ ไม่ควรให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคารของตนเอง และควรเก็บข้อมูลให้ดี มีการตรวจสอบข้อมูลในบัญชีอยู่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันอันตรายในการเจาะข้อมูลของตนเอง และสิ่งที่ดีที่สุดในการทำธุระกรรมกับธนาคาร คือควร ไปติดต่อที่ธนาคารโดยตรง ไม่ควรติดต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพราะอาจทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ง่าย


วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำเจ้าของ blog

สวัสดีค่ะ.....^.^
ชื่อ: นางสาวพนิดา เพ็ญชา
ชื่อเล่น: เฟียร์
เกิดวันที่ :18 กรกฎาคม 1991
ประวัติการศึกษา: ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านทำนบ(เลิศสินอนุสรน์)
                           มัธยมศึกษา   โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์
                           ปัจจุบันกำลังศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณทิต สาขาชีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์
                                                          มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร
 คติประจำใจ: อยู่กับปัจจุบันและทำทุกๆวันให้เป็นวันที่มีค่า
 ข้อมูลการติดต่อ : - Face book  pandajung1991@hotmail.com
                              - E-mail       panidapencha@gmail.com
 ความคาดหวังในรายวิชา: ในการเรียนรายวิชา ED381 สิ่งที่ดิฉันคาดหวังจากรายวิชาคือ การที่ดิฉันสามารถ นำสิ่งที่ได้จากการเรียนนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไปในอนาคตและสามารถสร้างสื่อการสอนที่ดีได้ในห้องเรียน นอกจากนี้ยังสามารถนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในรายวิชาอื่นๆได้ และดิฉันคิดว่าการที่ได้เรียนในรายวิชานี้ จะทำให้ดิฉันสามรถฝึกทักษะการจัดการสื่อการเรียนการสอนและได้รับเทคนิคในการจัดทำสื่อที่ดี รวมทั้งคำแนะนำ คำตักเตือนจากครูผู้สอน เพื่อที่จะนำสิ่งที่ได้ไปปรับปรุงตนเองรวมทั้งผลงานให้ดียิ่งขึ้นไป