วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สังเกตุสื่อการสอน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์

                 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
                      

ที่ตั้ง 31 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 7.7 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
         
          รูปอักษรย่อ ร.ว.บ.ประดิษฐ์สีแสด ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎสีทอง
สีประจำโรงเรียน
          แสด - ดำ
          สีแสด คือความเจริญรุ่งเรืองแห่งปัญญา
สีดำ คือสีความแข็งแกร่งอดทน


 
ปรัชญาโรงเรียน
        
          ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กีฬา รักษาคุณธรรม
 
คติพจน์
 
สติมโต สทา ภทฺทํ ผู้มีสติย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ

ต้นไม้
ต้นประดู่แดง


 
คำขวัญ
 
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สะอาด มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ กตัญญู เสียสละ          

ระเภท

          โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ

ประวัติโรงเรียน

         โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยนายสุขุม และนางจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร โรงเรียนด้วยเงิน งบประมาณปี 2513 และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" ("ราชวินิต " หมายความว่า " สถานที่ สั่งสอนอบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา") โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนครั้งแรกเมื่อ ปีการศึกษา 2515 มีนักเรียน 347 คน ปัจจุบัน โรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
การเข้าสังเกตุสื่อที่ใช้ในการสอนของรายวิชา      

สื่ออิเล็คทรอนิคส์ภายในห้องเรียน
1.โทรทัศน์
2.คอมพิวเตอร์
3.เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์
4.จอภาพโปรเจคเตอร์
5.ไมโครโฟน
6.ลำโพง
สื่อที่ใช้ในการสอน รายวิชาชีววิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
       จากการที่ดิฉันได้เข้าไปทำการสังเกตุการเรียนการสอน ภายในโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว พบว่าในรายวิชา อาจารย์ผู้สอนมีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ดังนี้
1.การสอนโดยใช้ Power point
2.การสอนโดยใช้โมเดลศึกษา
3.การใช้กิจกรรมควบคู่การสอน
        นอกจากนี้ภายในห้องเรียนยังมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษา เช่น โมเดลโครงสร้างการแบ่งเซลล์ ในระยะต่างๆ ภาพโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ภาพโครงสร้างของพืชและสัตว์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีภาพการแบ่งเซลล์ในระยะต่างๆซึ่งเป็นผลงานของนักเรียนอีกด้วย

ประโยชน์ของสื่อการสอนที่ใช้

 1.การใช้สื่อ Power point ในการสอน
          ดิฉันคิดว่าการใช้ Powre point ในการสอนนั้น ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่เรียน มากว่าการที่เรียนแต่ในหนังสือเพียงอย่างเดียว เพราะผู้สอนสามารถใส่เนื้อหาหรือข้อมูลที่สำคัย หรือรูปภาพที่ใช้ประกอบได้หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถใช้สื่อ Media ต่างๆได้ เช่นการนำวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนมาสอดแทรก การใส่ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2.การใช้โมเดลศึกษา
        ในบางเรื่องที่ผู้สอนไม่สามารถอธิบายให้ผูเรียนเข้าใจได้อย่างชัดเจนนั้น ผู้สอนจะต้องมีการใช้สื่ออื่นๆประกอบแทน เช่น โมเดลที่จำลองโครงสร้างหรือลักษณะของสิ่งมีชีวิต ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสัมผัสได้ และเข้าใจสามารถอธิบายถึงโครงสร้างต่างๆนั้นได้ ในการสอนในรายวิชาที่ดิฉันได้เข้าไปทำการสังเกตุการสอน พบว่าอาจารย์ผู้สอนได้ใช้โมเดล ในการอธิบายถึงโครงสร้างและการทำงานของไต ซึ่งนักเรียนในห้องเรียน มีความสนใจในสื่อที่เรียน และสามารถตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอนได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าสื่อดังกล่าวมีความสำคัญและเป็นตัวกระตุ้นความสนใจทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
3.การใช้กิจกรรมในการเรียน
         ในการนำกิจกรรมเข้ามาช่วยในการเรียน ถือเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีอีกวิธีการหนึ่ง เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น และอีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดผู้เรียนด้วยว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากน้อยเพียงใด
         
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
        1.ในการสอนโดยใช้ Power point ดิฉันคิดว่าบางส่วนไม่มีความน่าสนใจหรือมีความยากเกินไปจึงทำให้ผู้เรียนบางคนไม่ตั้งใจเรียน ในสิ่งที่อาจารย์สอนเท่ามที่ควร
        2.นักเรียนบางคนไม่สนใจเรียน แต่กลับเอาหนังสือที่ไม่ใช่วิชาเรียนมาอ่าน อาจเป้นผลมาจากการมีหนังสือเรียนให้ อีกทั้งอาจารย์ยังสอนดดยใช้ Power point นักเรียนจึงไม่สนใจที่จะจดบันทึกตามสิ่งที่อาจารย์สอน
        3.สื่อการสอนไม่เพียงพอต่อผู้เรียน จึงต้องมีการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ซึ่งทำให้เสียเวลาในการเรียน
        4.ในการเรียนการสอนนั้นจะถูกจำกัดด้วยเรื่องของเวลา หรือชั่วโมงเรียนที่ไม่เพียงพอ
ข้อเสนอเแนะ

       1.สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีความน่าสนใจ และมีความเหมาะสมต่อระดับของผู้เรียน สามารถดึงดูดผู้เรียน โดยผู้สอนอาจใส่ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อที่สอน ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
       2.ผู้สอนควรมีเนื้อหาที่นอกเหนือจากในหนังสือใส่ลงใน Powre point เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนและจดบันทึกตามเนื้อหานั้น
       3.ผู้สอนควรจัดการเนื้อหาที่จะใช้ในการให้กระชับและครอบคลุมมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้สามารถสอนได้ทั้นตามช่วงเวลาที่กำหนด
     
     
                        ประมวลภาพจากการสังเกตุสื่อการสอน

                                     
                                                    ภาพการสังเกตุการสอนในห้องเรียน
                                   
                                        
                                          การต้อนรับจากคณาจารย์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
                                     
                                                       
                                                       ภาพยรรยากาศภายในห้องเรียน


                                       การเรียนในหัวข้อเรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต

                                                สื่ออิเล็คทรอนิคส์ที่มีอยู่ภายในห้องเรียน
                                         
                                          สื่อภาพโครงสร้าของมนุษย์ที่มีอยู่ภายในห้องเรียน

                                                           
                                                             ภาพโครงสร้างของกบ

                                                         
                                                          ภาพโครงสร้างการแบ่งเซลล์
                                            
                                                            ภาพผลงานของนักเรียน













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น